
ในปัจจุบันนี้ถือได้ว่าเป็นโลกของข้อมูลข่าวสาร หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นยุคของโลกไร้พรมแดน เราควรจะทราบหลักเกณฑ์พื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล ประเภท และประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการสื่อสารข้อมูลประเภทต่างๆ
การสื่อสารข้อมูล (Data Communication)
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารจะประกอบด้วย
ผู้ส่ง (Sender)
ตัวกลาง (Media)
ข้อมูล (Message)
ผู้รับปลายทาง (Receiver)
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วย
ผู้ส่ง (Sender)
ตัวกลาง (Media)
ข้อมูล (Message)
ผู้รับปลายทาง (Receiver)
โปรโตคอล (Network Protocol)
กฏเกณฑ์ที่ใช้เป็นทางการที่ใช้ในการสื่อสาร
วิธีการส่ง ( Transmission )
การอินเตอร์เฟส (Interface)
การเข้ารหัส ( Coding )
วิธีการตรวจสอบในกรณีที่ข้อมูลที่รับและส่งมีปัญหาให้เป็นรูปแบบเดียวกัน
สามารถแปลงให้เป็นรูปแบบเดียวกันได้
ชนิดของสัญญาณการสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
1.การส่งสัญญาณแบบอนาล็อก (Analog)
2.การส่งสัญญาณแบบดิจิตอล (Digital)
ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล
แบบทิศทางเดียว (Simplex หรือ One-Way)
ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางหนึ่ง โดยไม่สามารถส่งย้อนกับมาได้ เช่น ระบบวิทยุหรือโทรทัศน์
แบบกึ่งสองทิศทาง (Half Duplex)
ข้อมูลสามารถส่งสลับกันได้ทั้ง 2 ทิศทางโดยต้องผลัดกันส่ง ครั้งละทิศทางเท่านั้น ตัวอย่างเช่น วิทยุสื่อสาร แบบผลัดกันพูด
แบบสองทิศทาง (Full Duplex หรือ Both-Way)
ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทางอย่างอิสระ ตัวอย่างเช่น ระบบโทรศัพท์ บางครั้งเราเรียกการสื่อสารแบบสองทิศทางว่า Four-Wire-Line
เพื่อความเป็นระเบียบและความสะดวกแก่ผู้ผลิตและผู้ใช้
สามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลกันเป็น แบบระบบเปิด (Open System )
ตัวอย่างโปรโตคอล เช่น TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) โปรโตคอล X25 โปรโตคอล BSC ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น